ห้อง Clean room หรือ ห้องปลอดเชื้อ ห้องปลอดฝุ่น คือ ห้องที่มีการควบคุมปริมาณฝุ่น (Particle ที่มีขนาด 0.5 um ในสภาวะที่สมดุลระหว่างอัตราการเกิดและการเก็บฝุ่นภายในห้องนั้นๆ โดยมีการควบคุมอุณหภูมิ, ความชื้น, ความดันอากาศ และปริมาณจุลินทรีย์ในอากาศ เนื่องจากความต้องการของลักษณะงานที่ผลิตหรือเก็บในห้อง Cleanroom นั้นๆจากคำจำกัดความดังกล่าวนั้น อาจจะทำให้มองภาพ Cleanroom อย่างคร่าวๆได้แต่ยังมองภาพพจน์ไม่ออกว่าฝุ่นละอองขนาด 0.5 ไมครอน (ไมโครเมตร) มีขนาดเล็กขนาดใด
จากภาพที่ 1 แสดงถึงขนาดของอนุภาคในอากาศชนิดต่างๆ (Relative size chart of common air contamination)
จากรูปดังกล่าวข้างต้นคงพอที่จะทำให้มีมโนภาพของขนาดของอนุภาคที่ระบบ Cleanroom จะต้องจำกัดให้มีปริมาณอยู่ตามที่มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานของ Cleanroom ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยหลายสถาบัน แต่ที่สำคัญคือ มาตรฐานUS Federal Standard No.209 ซึ่งได้ถูกบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ.1963 และถูกเพิ่มเติมปรับปรุงในปี ค.ศ. 1973 และ 1976 ซึ่งจะเป็นการแบ่งคลาสห้องคลีนรูมออกมาตามตารางนี้
และยังมีมาตรฐาน Cleanroom ISO 14644 ซึ่งนับว่าเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีรายละเอียดแบ่งย่อยออกเป็น 8 มาตราหลัก และมีมาตรฐาน Bio contamination control ISO 14698 แยกย่อยออกมาอีก 3 มาตรา ดังนี้
ISO 14644-1 Part 1: Classification of air cleanliness (ISO14644-1:1999)
ISO 14644-2 Part 2 : Specification for testing and monitoring to prove continued compliance with ISO 14644-1 (ISO 14644-2:2000)
ISO 14644-3 Part 3 : Metrology and test methods (Draft Standard 2002-9)
ISO 14644-4 Part 4: Design, construction and start-up (Draft Standard 2001-4)
ISO 14644-5 Part 5: Operations (Draft Standard 2001-7)
ISO 14644-7 Part 7: Separative enclosures (clean air hoods, gloveboxes isolators, mini-environments) (DIS)
ISO 14644-8 Part 8: Air borne molecular contamination (AWI)
ISO14698-1 Biocontamination control – Part 1: General principles (Draft Standard 2001-12)
ISO 14698-2 Biocontamination control – Part 2: Evaluation and interpretation of biocontamination data (Draft Standard 1999-4)
ISO 14698-3 Biocontamination control – Part 3: Measurement of the efficiency of processes of cleaning and/or disinfection of inert surfaces bearing biocontaminated wet soiling or biofilms (ISO/DIS 14698-3:1999)
ซึ่งภายหลังปี ค.ศ. 1976 งานผลิตชิ้นส่วน electronic บางประเภทมีความต้องการที่จะใช้ Cleanroom ต่ำกว่า Class 100 ลงไปอีก เช่น Class 10 at 0.3 um, Class 1 at 0.3 um และ Super Cleanroom Class 10 at 0.1 um ซึ่งอาจรวบรวม Class ต่างๆ ของ Cleanroom โดยแสดงเป็นกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณและขนาดของอนุภาคในแต่ละ Class ของ Cleanroom ดังนี้
Graphical representation of ISO-class concentration limits for selected ISO classes
Standard ของ Cleanroom ที่กล่าวมาแล้วนี้จะกล่าวถึงเพียงขนาดของอนุภาค, จำนวน, ความดันอากาศ, อุณหภูมิ, ความชื้น, ความเร็วลม, แสงสว่าง เท่านั้น แต่สำหรับมาตรฐานเฉพาะเช่น NASA Standard (NHB-5340-2) นั้นจะมีข้อกำหนดเพิ่มเติมถึงจำนวนจุลินทรีย์ในอากาศของห้อง Clean room Class ต่างๆอีกด้วย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในงาน Bio-Cleanroom และ Bio-Hazard Cleanroom
NASA Standard (NHB-5340-2)
หลักการสำคัญ 4 ประการของการสร้างและใช้งาน
ห้อง Clean room ในงานอุตสาหกรรมสมัยใหม่มีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ เนื่องด้วยสามารถลดอัตราความเสียหายและเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากมลภาวะของสภาพแวดล้อมการผลิต จึงมีอุตสาหกรรมประเภทที่จำเป็นต้องใช้ Clean room เพิ่มขึ้นในปัจจุบันเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ในการออกแบบ Industrial Clean Room จำเป็นต้องเข้าใจถึงหลักสำคัญ 4 ประการ ของ Clean room เสียก่อน คือ
1. Not to Bring Any Dust – ไม่นำฝุ่นเข้าไปในห้องปลอดเชื้อ หมายถึง การพยายามให้ลดปริมาณฝุ่นที่จะเข้าไปภายในห้อง Cleanroom ไม่ว่าจากทางระบบปรับอากาศ จากบุคคลที่เข้าไปทำงานภายในห้อง หรือจากวัสดุสิ่งของที่นำเข้าไปในห้อง ยกตัวอย่างเช่น
a. HEPA Filter ในระบบปรับอากาศต้องไม่มีรอยรั่ว เพื่อป้องกันอากาศที่ไม่ได้ผ่านการกรองเข้าไปภายในห้อง
b. ควบคุมความดันภายในห้องสะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นจากภายนอกเข้าไปภายใน
c. บุคคลที่จะเข้าไปภายในห้อง Cleanroom จะต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้า รวมถึงต้องผ่าน Air shower ก่อนเข้าไปภายในพื้นที่
d. สิ่งของหรืออุปกรณ์ต่างๆที่จะเข้าไปภายในห้อง Cleanroom ต้องได้รับการทำความสะอาดก่อนทุกครั้ง
2. Not to Generate Any Dust – พยายามไม่กระทำการใดก่อให้เกิดฝุ่นหมายถึง การลดกิจกรรมหรือเครื่องจักรภายในห้อง Cleanroomที่ก่อให้เกิดฝุ่นเพื่อให้ฝุ่นที่เกิดขึ้นจากสิ่งเหล่านั้นสมดุลกับระบบกำจัดฝุ่นภายในห้องยกตัวอย่างเช่น
a. บุคคลที่อยู่ภายในห้อง Cleanroom จะต้องสวมใส่เสื้อผ้าชนิด Dust-free
b. ไม่ใช้งานวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ก่อให้เกิดฝุ่นภายในห้องCleanroom
c. ลดการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็นเนื่องจากแต่ละกริยาท่าทางของบุคคลจะสามารถก่อให้เกิดฝุ่นได้ต่างกันตามตัวอย่างจากตารางด้านล่างนี้
3. Not to accumulate any dust – ลดการสะสมฝุ่น หมายถึง การลดโอกาสที่จะเกิดการสะสมของฝุ่นภายในห้อง Cleanroom ยกตัวอย่างเช่น
a. การออกแบบห้องโดยลดไม่ให้มีมุมในห้องให้มากที่สุด เพื่อลดการสะสมของฝุ่นในจุดที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้
b. การออกแบบห้องให้งานระบบท่อทางต่างๆ อยู่ในส่วนที่ปิดมิดชิด ไม่เดินลอยภายในห้องเท่าที่สามารถทำได้
c. การทำความสะอาดห้อง Cleanroom ที่สม่ำเสมอ และมีมาตรฐาน
4. To remove any dust quickly – การกำจัดฝุ่นโดยเร็ว หมายถึง การออกแบบระบบปรับอากาศภายในห้อง Cleanroom ให้สามารถกำจัดฝุ่นภายในห้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องคำนึงถึงจุดประสงค์การใช้งานของห้อง และผู้ใช้งานร่วมด้วย ยกตัวอย่างเช่น
a. เพิ่มปริมาณ Air-change rate ภายในห้อง เพื่อกรองฝุ่นออกได้เร็วยิ่งขึ้น
b. ออกแบบช่องอากาศทึ้ง ไว้ใกล้ๆกับแหล่งกำเนิดฝุ่นภายในห้อง
c. การออกแบบรูปแบบของการไหลของอากาศภายในห้อง ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการใช้ห้อง เพื่อลดโอกาสที่จะมีฝุ่นเข้าไปอยู่บนตัวสินค้า
รูปแบบการไหลของอากาศในห้อง cleanroom สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทดังนี้
1. Unidirectional flow – Horizontal or Vertical type การออกแบบให้อากาศภายในห้องไหลตรงเป็นเส้นทางเดียวแนวตั้ง หรือแนวนอน เป็นต้น
2. Turbulence flow – การออกแบบให้อากาศในห้องไหลแบบปั่นป่วน
3. Replacement – การออกแบบให้อากาศภายในห้องถูกทดแทนตลอดเวลา
4. Combination – การผสมหลักการออกแบบในแต่ละประเภทเข้าด้วยกัน
สนใจ ห้อง Clean room, ห้องปลอดเชื้อ, อุปกรณ์คลีนรูม ติดต่อได้ที่
Line : cleanair8746
Phone : +6623197035
Email : [email protected]